Menu Close

Author: admin@hrzania

ความพึงพอใจ (Satisfaction) กับ ความผูกพันในการทำงานของพนักงาน (Employee Engagement) เหมือนหรือต่างกัน?

แรกเริ่มเดิมทีเราจะคุ้นเคยกับการสำรวจความพึงพอใจในการทำงานของพนักงาน หรือ Employee Satisfaction survey ที่มีพื้นฐานจากแนวคิดทฤษฎีทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

วิธีตรวจสอบความเหมาะสมของโครงสร้างเงินเดือน

เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าโครงสร้างเงินเดือนที่ทำขึ้นมีความเหมาะสม แข่งกับตลาดได้? ความเหมาะสมดูจากอะไร? โครงสร้างเงินเดือนที่เหมาะสมควรมีลักษณะดังนี้ครับ                1. มีความยุติธรรมภายใน (Internal Equity)                               โครงสร้างเงินเดือนถูกจัดทำขึ้นบนพื้นฐานของระดับค่างาน (Job Grade) ที่ได้รับการประเมินค่างานตามระดับความยาก ความซับซ้อนและมูลค่าของงาน ตำแหน่งที่มีมูลค่าสูงก็จะต้องได้รับค่าจ้างเงินเดือนสูงกว่าตำแหน่งงานที่มูลค่าน้อยกว่า ไม่ควรทำให้พนักงานมีความรู้สึกที่ว่า “พี่ไม่เห็นทำอะไรเลย ทำไมได้เงินเดือนมากกว่าผม แบบนี้ไม่ยุติธรรมเลย”                2. มีความยุติธรรมภายนอกหรือแข่งขันกับตลาดแรงงานได้ (External Equity)…

Mindset…Skillset และ Toolset อะไรสำคัญกว่ากัน

วันนี้ก็เลยอยากจะเขียนความเห็นเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้สักหน่อย เพราะในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ที่ผู้เขียนเจอในบริษัทต่าง ๆ เวลาเข้าไปอบรมสัมมนาหรือเป็นที่ปรึกษา มักจะมีการร้องขอจากผู้เขียนให้หา “เครื่องมือ” อะไรสักอย่างเพื่อจะเอาไปแก้ไขปัญหาที่องค์กรเจออยู่

แนวคิดใหม่ของการพัฒนาภาวะผู้นำด้วยนิวโรซายส์ (NLDP – Neuro Leadership Development Program) (ตอนที่ 3)

จากบทความทั้ง 2 ตอนก่อนหน้านี้ ผมได้พาท่านไปทำความรู้จักกับ “ศาสตร์ด้านสมอง” ตอนนี้เป็นตอนสุดท้ายของบทความเรื่องนี้ที่ผมจะยกตัวอย่างโปรแกรมการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวคิดของนิวโรซายส์ (สมอง)

แนวคิดใหม่ของการพัฒนาภาวะผู้นำด้วยนิวโรซายส์ (NLDP – Neuro Leadership Development Program) (ตอนที่ 2)

              ตอนที่แล้วผมพาท่านไปทำความรู้จักกับแนวคิดใหม่ของการพัฒนาภาวะผู้นำด้วยนิวโรซายส์ ซึ่งผมเรียกว่าเป็นการปฏิบัติการเรียนรู้ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์กันเลยทีเดียว และผมก็ได้แสดงให้ท่านผู้อ่านได้เห็นเกี่ยวกับแนวคิดนิวโรซายส์ที่อธิบายถึงกระบวนการเรียนรู้ของสมอง ว่าสมองส่วนต่างๆทำงานกันอย่างไร (Cognitive Neuroscience) ซึ่งการพัฒนาภาวะผู้นำก็คือ “การเรียนรู้” สิ่งต่างๆแล้วนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในแนวคิดที่ต้องการ แน่นอนจะพบว่าบางคนก็พัฒนาภาวะผู้นำได้ดี แต่ส่วนใหญ่มักจะล้มเหลว จึงเกิดคำถามในองค์การต่างๆ ว่าทำไมการพัฒนาภาวะผู้นำจึงช่างยากลำบากกว่าเข็นครกขึ้นภูเขาน้ำแข็ง จะมีวิธีอะไรบ้างหรือไม่ที่จะพัฒนาและทำให้พนักงานมีภาวะผู้นำขึ้นมาได้ คำถามเหล่านี้ยังวนเวียนอยู่ในชีวิตของพวกเราในปัจจุบัน                การเรียนรู้ในชีวิตของคนเรามองได้ 2…

แนวคิดใหม่ของการพัฒนาภาวะผู้นำด้วยนิวโรซายส์ (NLDP – Neuro Leadership Development Program) (ตอนที่ 1)

ผู้นำใช้ “สมอง” หรือ “หัวใจ” ในการทำงาน? คำตอบคือ สมองล้วนๆครับ (ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตเราเกิดจากสมองทั้งสิ้น) ผมเชื่อว่าหลายๆคนคงตอบว่า “หัวใจ” แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ครับ นั่นเพราะหัวใจมีหน้าที่เพียงแค่สูบฉีดโลหิตเท่านั้น แต่ที่เราพูดถึง “ใจ” หรือ “หัวใจ” จริงๆแล้วหมายถึงการเปรียบเทียบเชิงความรู้สึกนึกคิดมากกว่า ซึ่งบทความนี้ผมจะทำให้ทุกท่านได้รู้จักกับความลับของสมองมากขึ้นกับแนวคิดใหม่ของการพัฒนาภาวะผู้นำ                ด้วยในช่วงกว่า 2 ปีที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับ “ศาสตร์ด้านสมอง” (Neuroscience)…

10 วิธีเปิดสมอง...สอนหัวหน้างานบริหารอารมณ์

10 วิธีเปิดสมอง…สอนหัวหน้างานบริหารอารมณ์

อากาศเย็นๆสบายกำลังผ่านไป และอากาศร้อนอบอ้าวกำลังจะมาเยือน วันนี้ก็เลยอยากเขียนอะไรที่สบายๆ เป็นเรื่องในชีวิตประจำวัน ทั้งในฐานะ HR และวิทยากรมักจะมีคนถามบ่อยๆ ว่ามีวิธีการพัฒนาอย่างไรกับคนที่ใจร้อน ขี้หงุดหงิด โวยวาย ที่พลอยทำให้คนรอบข้างพลอยรู้สึกเซ็งไปด้วย ก็ทำให้นึกถึงปัญหายอดฮิตของทุกๆ องค์กร นั่นก็คือ “หัวหน้างานใจร้อนที่ช่างใจร้าย”

ตอบโจทย์ 7 ประการ...หนทางสู่นักบริหาร

ตอบโจทย์ 7 ประการ…หนทางสู่นักบริหาร

นักบริหารที่ดีจะรู้ว่า “การบริหาร” คือ สิ่งที่จะต้องเรียนรู้ ไม่มีใครเป็นนักบริหารที่ดีได้ในชั่วข้ามคืน แน่นอนว่าการเรียนรู้มีหลายวิธี และประสพการณ์ในการบริหารจะเป็นครูที่ดีที่สุด ผมหมายถึงประสพการณ์ในฐานะของ “นักบริหาร” หรือในฐานะ”หัวหน้าทีมงาน”ที่แท้จริงครับ ท่านต้องคิดวิเคราะห์และประเมินว่าท่านเป็นนักบริหารที่ดีหรือไม่จากประสิทธิภาพแลประสิทธิผลของสิ่งที่ท่านลงมือทำจริงเท่านั้น

การต่อเกษียณอายุ…แนวคิด การบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ใน ยุคสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society)ในปี 2567

ในปัจจุบันทั่วโลกมีผู้สูงอายุที่ฉลองวันเกิดปีที่ 60 วินาทีละ 2 คน ปีละเกือบ 58 ล้านคน!